เชฟเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำอาหาร บางคนก้าวไปไกลถึงระดับเชฟเซเลบริตี้ที่ปรากฏตัวบนหน้าจอโทรทัศน์ เขียนตำราอาหารจนขายดีติดอันดับ และสร้างอาณาจักรธุรกิจอาหารระดับโลก ด้วยอนาคตที่สดใสเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายคนสงสัยว่าอยากเป็นเชฟ ต้องเรียนสายไหน ? ทำอย่างไรถึงจะสามารถเป็นเชฟมืออาชีพได้ ? การก้าวสู่อาชีพเชฟนั้นต้องอาศัยความมุ่งมั่น การฝึกฝนทักษะ และประสบการณ์จากการทำงานจริงอย่างต่อเนื่อง แม้ตลอดเส้นทางจะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย แต่ความสำเร็จในอาชีพเชฟนั้นคุ้มค่าความพยายามแน่นอน
การเป็นเชฟไม่ได้อาศัยแค่ความรักในการทำอาหารเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยความมุ่งมั่น การฝึกฝน และการพัฒนาทักษะทั้งด้านศิลปะและเทคนิคการทำอาหารควบคู่กันไป สำหรับหลายคน การเรียนในหลักสูตรสอนทำอาหารคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะนำพาคุณไปสู่ความสำเร็จในฐานะเชฟมืออาชีพ
การศึกษาต่อด้านการทำอาหารเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่สุดเพื่อพัฒนาทักษะและสร้างความมั่นใจ ทำให้คุณพร้อมสำหรับเส้นทางอาชีพเชฟ ที่สถาบันสอนทำอาหาร Culinary Arts Academy Switzerland (CAAS) นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในงานครัวระดับมืออาชีพ
หลักสูตรปริญญาตรีสาขาศิลปะการทำอาหาร (BA in Culinary Arts) ไม่เพียงแต่สอนเทคนิคการทำอาหารที่หลากหลายเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาทักษะทางธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเชฟมืออาชีพ เพราะนอกจากการทำอาหารแล้ว เชฟยังรับผิดชอบงานด้านธุรกิจอีกด้วย เช่น การบริหารต้นทุน การเป็นผู้นำทีม และการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กับฝีมือการสร้างสรรค์เมนูอาหารอันยอดเยี่ยม
สำหรับผู้ที่มองหาหลักสูตรระยะสั้น สถาบัน CAAS ยังมีหลักสูตร Swiss Diploma in Culinary Arts ที่ใช้เวลาเรียนเพียง 1 ปี ถือเป็นอีกทางเลือกที่มอบการเรียนการสอนเข้มข้นและเน้นการปฏิบัติจริง ครอบคลุมทักษะพื้นฐานที่สำคัญของเชฟ
หลายคนที่อยากเป็นเชฟอาจเริ่มต้นด้วยการอ่านหนังสือหาความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการทำอาหาร แต่กุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญก็คือการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง และเข้าศึกษาต่อในสถาบันสอนทำอาหารชั้นนำที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากลเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ หลักสูตรปริญญาและประกาศนียบัตรด้านศิลปะการทำอาหารของ CAAS เน้นการฝึกภาคปฏิบัติที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะจากการทำงานในครัวระดับมืออาชีพ นอกจากการศึกษาในสถาบันสอนทำอาหาร ผู้ที่สนใจในอาชีพเชฟยังสามารถฝึกฝนได้ด้วยตัวเองเช่นกัน โดยวิธีการฝึกฝนอาจแตกต่างกันไปตามความชื่นชอบ เช่น ลองทำสูตรอาหารใหม่ ๆ ที่บ้าน ทำอาหารให้ครอบครัวและเพื่อน ๆ รับประทาน ทดลองใช้วัตถุดิบหลากหลายชนิด รวมไปถึงการเข้าร่วมเวิร์กช็อปทำอาหารหรือคอร์สออนไลน์ การฝึกทักษะด้วยวิธีที่หลากหลายจะช่วยเพิ่มความสนุกให้กับการเรียนรู้และทำให้คุณมีแรงบันดาลใจในการพัฒนาตัวเอง
เส้นทางสู่การเป็นเชฟมักเริ่มต้นจากตำแหน่งพื้นฐานในครัวอย่างพนักงานเตรียมวัตถุดิบ (Prep Cook) หรือพนักงานประกอบอาหาร (Line Cook) เพื่อฝึกฝนทักษะและทำความเข้าใจระบบการทำงานในครัวมืออาชีพ การทำงานภายใต้การกำกับดูแลของเชฟผู้เชี่ยวชาญไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณได้เรียนรู้เทคนิคการทำอาหาร แต่ยังปลูกฝังคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับการเป็นเชฟมืออาชีพด้วย เช่น วินัย การทำงานเป็นทีม และการบริหารเวลา
นอกจากปริญญาด้านการทำอาหารแล้ว การมีประกาศนียบัตรรับรองความสามารถก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เชฟโดดเด่นในอุตสาหกรรมอาหารที่มีการแข่งขันสูง เพราะเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สถาบัน CAAS เปิดสอนหลักสูตร Certificate in Vegetarian Culinary Arts สำหรับนักเรียนและเชฟที่ต้องการเพิ่มพูนความเชี่ยวชาญด้านอาหารจากพืช (Plant-Based Cuisine) โดยเน้นการนำเสนออาหารให้สวยงาม การคำนึงถึงความยั่งยืน และแนวคิด Zero Waste ลดของเหลือใช้ในครัว เชฟผู้เชี่ยวชาญด้าน Plant-Based Cuisine มีโอกาสเติบโตในสายอาชีพและประสบความสำเร็จสูง เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพและเลือกรับประทานอาหารมังสวิรัติหรือวีแกนมากขึ้น
การประสบความสำเร็จในอาชีพเชฟต้องอาศัยความเชี่ยวชาญขั้นสูง และมีคุณลักษณะที่เหมาะสมสำหรับบทบาท
เส้นทางสู่การเป็นเชฟของแต่ละคนไม่มีกรอบเวลาที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับทักษะ ความมุ่งมั่น แขนงที่ฝึกฝน และประสบการณ์ที่สั่งสมจากการทำงานในครัว
ผู้ที่สนใจในอาชีพเชฟสามารถศึกษาเพิ่มเติมในหลักสูตรด้านการทำอาหารซึ่งใช้เวลาเรียนประมาณ 1-4 ปี สถาบัน CAAS เปิดสอนทั้งหลักสูตรปริญญาและประกาศนียบัตรให้เลือกเรียนตามเป้าหมายของแต่ละคน โดยหลักสูตร Swiss Diploma in Culinary Arts ใช้เวลาเรียน 1 ปี สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สถาบันยังมีหลักสูตรปริญญาตรีด้านศิลปะการทำอาหาร (Bachelor of Arts in Culinary Arts) ที่ใช้เวลาเรียนประมาณ 3 ปี
หลังจบการศึกษาจากหลักสูตรสอนทำอาหารแล้ว ก็ถึงเวลาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้วยการฝึกงานและฝึกเป็นลูกมือเชฟ ซึ่งใช้เวลา 6 เดือนถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับระดับการฝึกและประเภทของสถานประกอบการ การไต่ระดับจากเชฟฝึกหัดสู่หัวหน้าเชฟ (Sous Chef หรือ Head Chef) อาจใช้เวลาตั้งแต่ 5 - 10 ปีขึ้นไป โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การพัฒนาทักษะ ประเภทของร้านอาหาร โอกาสในการเรียนรู้จากรุ่นพี่ การเปลี่ยนแปลงในอาชีพ และการฝึกอบรมด้านการทำอาหาร
ด้วยความหลากหลายของอาหารและวัฒนธรรมการทำอาหารทั่วโลก เส้นทางอาชีพเชฟจึงเปิดกว้างไร้ขีดจำกัดสำหรับผู้ที่มีใจรักในการทำอาหาร เชฟมืออาชีพอาจมีความสนใจในแขนงต่าง ๆ ทำให้มีสายงานที่แตกต่างกันไป ซึ่งตัวเลือกยอดนิยมสำหรับเชฟมีดังนี้
ครัวของร้านอาหารมีการจัดลำดับตำแหน่งเชฟอย่างเป็นระบบเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น โดยตำแหน่งต่าง ๆ มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้
Executive Chef (หัวหน้าเชฟ) – หัวหน้าเชฟถือเป็นตำแหน่งสูงสุดในลำดับชั้นของครัว มีหน้าที่หลักคือการบริหารจัดการภาพรวมของครัว วางแผนงบประมาณ และวางแผนเมนู (แทบไม่ได้ลงมือทำอาหารด้วยตัวเอง)
Chef De Cuisine (หัวหน้าครัวร้อน) – รับผิดชอบการดำเนินงานประจำวันภายในครัว ควบคุมคุณภาพอาหาร ดูแลทีมงาน และประสานงานกับแผนกอื่น ๆ
Sous Chef (รองหัวหน้าครัวร้อน) – มีหน้าที่ช่วยเหลือหัวหน้าครัวร้อน ตอนที่หัวหน้าไม่อยู่
Chef de Partie (หัวหน้าแผนกครัว) – หัวหน้าแผนกครัว หรือ Station Chef มีหน้าที่ดูแลแต่ละแผนกในครัว เช่น
Relief Chef (เชฟหมุนเวียน) – เชฟหมุนเวียน หรือ Chef de Tournant คือเชฟที่สามารถทำงานได้ทุกแผนก และช่วยเสริมทีมเมื่อมีความจำเป็น
Junior Chef (ผู้ช่วยเชฟ) – ผู้ช่วยเชฟ หรือ Commis มีหน้าที่ช่วยงาน Station Chef ในแต่ละแผนก
ในขณะที่เชฟร้านอาหารจะต้องเชี่ยวชาญเทคนิคการทำอาหารที่หลากหลาย แต่เชฟหลายคนเลือกที่จะมุ่งเน้นไปที่ศาสตร์เฉพาะทางเพื่อฝึกฝนและพัฒนาฝีมือให้ถึงขีดสุดในสิ่งที่ถนัด ซึ่งอาชีพเชฟเฉพาะทางที่ได้รับความนิยม ได้แก่ :
นอกจากการเป็นเชฟในร้านอาหารหรือโรงแรมแล้ว อุตสาหกรรมอาหารยังมีเส้นทางอาชีพอื่น ๆ ที่เปิดโอกาสให้เชฟได้แสดงฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป เช่น
นอกจากนี้ โอกาสการทำงานของเชฟยังเปิดกว้างไปถึงด้านสื่อสารอาหาร (Food Media) ที่เชฟสามารถแบ่งปันความหลงใหลในการทำอาหารกับผู้ชมในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นสูตรอาหารให้กับนิตยสารและเว็บไซต์ การเขียนตำราอาหาร การทำรายการทำอาหาร หรือการสร้างสรรค์คอนเทนต์ด้านอาหารบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
การได้เรียนรู้เส้นทางอาชีพนี้อย่างละเอียดจะช่วยให้เป้าหมายของคุณชัดเจนยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่อยากเป็นเชฟ ก้าวแรกที่จะพาคุณไปสู่ความสำเร็จในอนาคตคือการศึกษาด้านการทำอาหารเพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็น ควบคู่ไปกับการฝึกฝน ลงมือปฏิบัติ และสั่งสมประสบการณ์จากโลกแห่งการทำงาน หากต้องการยกระดับความเชี่ยวชาญให้โดดเด่นยิ่งขึ้น คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมในหลักสูตรประกาศนียบัตร ซึ่งเป็นอีกหนทางในการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ อีกมากมาย
หากคุณสนใจศึกษาต่อด้านศิลปะการทำอาหารที่สถาบันสอนทำอาหารชั้นนำในสวิตเซอร์แลนด์ ติดต่อทีม Swiss Education Group ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-652-1481 หรือ LINE @studyinswitzerland
Q : ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้างจึงจะเป็นเชฟได้ ?
A : โดยทั่วไปแล้ว การเป็นเชฟต้องอาศัยการศึกษาด้านศิลปะการทำอาหารควบคู่ไปกับการฝึกฝน ปฏิบัติจริง และสั่งสมประสบการณ์ในครัวมืออาชีพ
Q : เชฟมือใหม่เรียกว่าอะไร ?
A : เชฟมือใหม่มักถูกเรียกว่า Commis Chef หรือ Junior Chef ซึ่งเป็นตำแหน่งเริ่มต้นในสายงานครัว ทำงานภายใต้การดูแลของเชฟมืออาชีพมากประสบการณ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่อไป