ก้าวข้ามการหมดไฟ: ภาวะการเบื่องานเป็นโรคใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน ส่องวิธีที่ Gen Z
รักษาอาการเบื่องานด้วยการหันมาเรียนสายอาชีพ
โดย Claire Jollain
อันตรายจากการเบื่อ
สวัสดีค่ะ ฉันชื่อแคล ฉันเป็นรองคณบดีที่โรงเรียน Swiss Hotel Management School ฉันเจอนักนักเรียนที่เรียนด้านการโรงแรมทุกวัน วันหนึ่งฉันได้ถามนักเรียนว่า “มีกี่คนที่อยากจะเป็นผู้จัดการทั่วไปหลังจากเรียนจบ” ผลที่ได้ มีไม่กี่คนที่ยกมือขึ้น ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นล่ะ? มันจะอาจเกี่ยวกับความกลัว “การเบื่อ” รึป่าว!!
เมื่อ 20 ปีก่อน ตอนที่ฉันยังเป็นนักเรียน เพื่อนร่วมชั้นเรียนและฉันต้องการที่จะเป็นผู้นำ – บริหารจัดการทีม จัดการประชุม อ่านสถิติและรายงาน และเป็นผู้นำในการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม ขณะที่ฉันเขียนข้อความนี้ ฉันตระหนักดีว่าในความเป็นจริงแล้ว ความทะเยอทะยานไม่ได้สร้างแรงบันดาลใจมากนัก
ในขณะที่คุณอาจคุ้นเคยกับคำว่าหมดไฟหรือเหนื่อยหน่าย แต่คำว่า “ภาวะเบื่องาน” เป็นคำใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในคำศัพท์ของคุณ ซึ่งบัญญัติขึ้นในปี 2550 โดยที่ปรึกษาทางธุรกิจชาวสวิสสองคนคือ Peter Werder และ Philippe Rothlin ในช่วงเวลาที่ผ่านมา คำว่า “หมดไฟ” ถูกนำมาใช้เพื่ออ้างถึงงานที่มากเกินไปและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ซึ่งส่งผลเสียต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ความเครียดที่ยืดเยื้อนี้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงสูญเสียความมั่นใจในตนเอง วิตกกังวล และซึมเศร้า โดยภาวะเบื่องานนั้นทำให้เกิดอาการเหมือนภาวะหมดไฟเหมือนกัน แต่มีสาเหตุมาจากการที่คุณรู้สึกเบื่องาน ถึงแม้ว่าคุณอาจจะมีภาระงานกองโตรออยู่ก็ตาม โดยความรู้สึกเบื่องานนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการขาดความคาดหวังในที่ทำงาน
แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร? บางทีคุณอาจใช้เวลาไปกับการประชุมที่ยืดเยื้อ คีย์ข้อมูลใน Excel หรือหมกมุ่นอยู่กับการทำพรีเซนเทชั่น PowerPoint และจู่ๆ คุณก็ตั้งคำถามถึงงานหนักเหล่านี้ขึ้นมา การระบาดใหญ่ของ COVID-19 และการล็อกดาวน์ทำให้ความรู้สึกเบื่องานนี้รุนแรงขึ้น และยังทำให้พนักงานสูญเสียความรู้สึกมีส่วนรวมกับองค์กรเพิ่มขึ้นอีกด้วย
- เบนเข็มไปเรียนสายอาชีพ
เป้าหมายในชีวิตของคน Generation Z นั้นแตกต่างกันมาก Gen Z คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2540 ถึง 2555 โดยหลายคนกำลังศึกษาระดับอุดมศึกษาและเข้าทำงานเป็นครั้งแรก Gen Z ไม่ได้ใฝ่ฝันที่จะได้พบกับผู้เชี่ยวชาญต่างๆ หรือทำงานสร้างสไลด์ Power Point เป็นจำนวนมากหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องคนรุ่นใหม่นี้ต้องการความรู้สึกที่ได้สร้างประโยชน์และมีส่วนร่วมกับสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
ในขณะเดียวกัน ในหลายกรณี การศึกษาระดับอุดมศึกษากำลังสูญเสียแรงผลักดันและความหมายของมัน มีผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงจำนวนมากต้องดิ้นรนหางานแรก เด็กจบใหม่เหล่านี้มักจะมีคุณสมบัติเกินเกณฑ์หรือในทางกลับกัน พวกเขาขาดประสบการณ์ในวิชาชีพ แม้ว่าพวกเขาอาจจะเก่งในด้านระเบียบวิธีวิจัยที่จำเป็นสำหรับการเขียนวิทยานิพนธ์ 20,000 คำ แต่พวกเขามักจะรู้สึกว่าตนเองไม่เหมาะกับชีวิตธุรกิจหลังจากที่สำเร็จการศึกษา
หลักสูตรที่พวกเขาเรียนมักจะห่างไกลจากความเป็นจริงมากเกินไป พูดง่ายๆ คือสิ่งที่พวกเขาได้รับการสอนกับสิ่งที่จำเป็นในการทำงานนั้นสวนทางกันมากขึ้นเรื่อยๆ
ส่งผลให้เยาวชนจำนวนมากขึ้นหันมาเรียนสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกงานหรือเรียนปริญญาตรี เมื่อฉันเริ่มบรรยายที่
Culinary Arts Academy ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2557 แปดปีที่แล้ว ฉันมีนักเรียน 6 คนในชั้นเรียน มาวันนี้ในชั้นเรียนมีนักเรียนเกิน 100 คน นักเรียนเหล่านี้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหลังจากใช้เวลาสามปีในห้องเรียนและในครัว
อาจจะยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงโลกหลังโควิด แต่ในเดือนกันยายน ในปี 2564 ฉันได้ต้อนรับนักเรียนใหม่เกือบ
200 คนจากกว่า 40 ประเทศ สู่ Swiss Hotel Management School พวกเขาเพี้ยนไปแล้วหรือเปล่า? คำตอบคือไม่ เพราะ Gen Z นั้นมีลักษณะเด่นคือ ฝักใฝ่ปฏิบัตินิยม เป็นพวกชอบลงมือปฏิบัติ หรือบางคนอาจเรียกว่าลัทธิปฏิบัตินิยม
เหตุใดนักเรียนเหล่านี้จึงเลือกเรียนสายอาชีพมากกว่าโปรแกรมวิชาการอื่นๆ และเหตุใดที่นักเรียนหลายคนกลับมาที่เรียนต่อ นี่คือสี่เหตุผลหลัก:
- Generation Z ชอบการติดต่อกับมนุษย์
การเรียนออนไลน์เป็นประสบการณ์ที่ยากลำบากสำหรับนักเรียนส่วนใหญ่ทั่วโลก เราพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ของเรารีบกลับมายังมหาวิทยาลัยทันที ที่มีการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ แม้ว่าคณาจารย์และสถาบันต่างๆ ได้พยายามอย่างดีที่สุดในแง่ของการสอนออนไลน์ แต่ไม่มีอะไรสามารถแทนที่การติดต่อระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้กับเพื่อนๆ และการสอนแบบไม่เป็นทางการที่เกิดขึ้นนอกห้องเรียนได้
- พวกเขาเติบโตด้วยการเรียนรู้ที่ลงมือปฏิบัติจริง
อายุของ YouTube และโซเชียลมีเดีย ตีความได้ว่า Gen Z นั้นเปิดกว้างอย่างมากต่อภาพและยังสามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ในทำนองเดียวกัน คนรุ่นนี้เรียนรู้ข้อมูลใหม่อย่างรวดเร็วเมื่อกิจกรรมการเรียนรู้นั้นทำผ่านการลงมือปฏิบัติและการพูดคุยโต้ตอบระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริงของเรา เช่นการวางแผนงานอีเวนต์และการจัดรายการอาหารไฟน์ไดนิ่งนั้นส่งผลกระตุ้นการเรียนรู้ ช่วยลดความเบื่อหน่าย และนักเรียนเหล่านี้จะมองหาสิ่งกระตุ้นแบบเดียวกันเมื่อพวกเขาสำเร็จการศึกษาและเข้าสู่ตลาดแรงงาน
- พวกเขาต้องการภารกิจที่ชัดเจน
Gen Z ต้องทำความเข้าใจกับงานที่พวกเขาทำและดูว่าการกระทำของพวกเขานั้นมีส่วนสนับสนุนเป้าหมายของบริษัทที่ชัดเจนอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับแขก การจัดงานอีเวนต์ หรือสร้างประสบการณ์การทำอาหารเหล่านี้ต้องเป็นงานที่ชัดเจนและมีจุดมุ่งหมาย Gen Z ไม่ชอบความไม่แน่นอนและเป้าหมายที่คลุมเครือ ในทางกลับกันพวกเขาจะเติบโตได้เมื่อมีเส้นทางและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีความหมาย
- การจ้างงานเป็นกุญแจสำคัญ
การศึกษาสายอาชีพได้รับความสนใจอีกครั้งเนื่องจากธุรกิจหลายแห่งแสดงความกังวลเกี่ยวกับการขาดทักษะของ
บัณฑิตเมื่อเข้าทำงาน ในฐานะนักปฏิบัติ Gen Z รู้ดีว่าต้องขอบคุณการศึกษาสายอาชีพที่ทำให้พวกเขามีงานทำหลังจากสำเร็จการศึกษา
By Claire Jollain
ASSISTANT DEAN, SHMS CAUX CAMPUS